ปรากฏการณ์ ตำนานพญานาค ความเชื่อ แรงศรัทธาลุ่มแม่น้ำโขง

ความเชื่อในเรื่องของ ตำนานพญานาค คือสิ่งที่อยู่คู่กับคนไทยมาอย่างยาวนาน จะเห็นได้จากสถานที่ท่องเที่ยวในช่วงนี้ หลายแห่งมีรูปปั้นพญานาคให้คนมากราบไหว้บูชาอยู่ด้วยหลายที่ หรือตามวัดต่าง ๆ ที่มีรูปปั้นของพญานาคอยู่ตรงบันไดทางขึ้น ซึ่งจะเจอได้เยอะในภาคอีสาน เพราะเป็นภูมิภาคที่มีความผูกพันกับพญานาคเป็นอย่างมาก วันนี้ Lottosod96 จะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับพญานาคจากหลากหลายความเชื่อ ปรากฏการณ์ต่าง ๆ และแรงศรัทธาของคนไทย มาหาคำตอบว่า พญานาคมีจริงไหมไปพร้อม ๆ กันค่ะ

ตำนานพญานาค

ตำนานพญานาค ความเชื่อที่หาข้อพิสูจน์ได้

ความเชื่อในเรื่องของตำนานพญานาค มีกันมานานมาก ๆ ซึ่งก็อาจจะเก่าแก่กว่าพุทธศาสนาเสียอีก ตำนานนี้มีต้นกำเนิดมาจากทางอินเดียใต้ ซึ่งมีภูมิประเทศเป็นป่าเขา ทำให้มีงูอยู่มากมาย งูเป็นสัตว์มีพิษที่ร้ายแรงมาก มนุษย์จึงถือว่างูมีอำนาจ จนทำให้ชาวอินเดียใต้นับถืองูตั้งแต่นั้นมา

สำหรับในประเทศไทย ความเชื่อในเรื่องของตำนานพญานาค มีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ปรากฏอยู่ในวรรณคดีหลาย ๆ เรื่อง เช่น ไตรภูมิพระร่วง ที่บอกว่านาคมีลักษณะคล้ายงูใหญ่ มีหงอน ดวงตาสีแดง และมีเกล็ดหลายสี อาศัยอยู่ใต้บาดาล สามารถแปลงกายเป็นมนุษย์ได้ หรือแม้กระทั่งภาพยนตร์ในปัจจุบันก็ยังมีการพูดถึงพญานาคอยู่หลายเรื่อง ทั้งความรักของพญานาคกับคน ตำนานพญานาคกับครุฑ เป็นต้น

พญานาคกับตำนานลุ่มน้ำโขง

คนไทยมีความเชื่อว่า พญานาคอาศัยอยู่ในแม่น้ำโขงหรือเมืองบาดาล ในวันออกพรรษามีคนพบรอยพญานาคขึ้นมาบนพื้นดิน รอยมีลักษณะคล้ายงูขนาดใหญ่เลื้อยอยู่บนบก บางคนก็เคยเห็นคราบของพญานาคที่คล้ายกับงูลอกคราบ และในภาคอีสานก็ยังมีหินขนาดใหญ่ที่มีลักษณะคล้ายงูยักษ์อยู่ด้วย

ถึงแม้ว่าจะไม่มีใครเคยเห็นพญานาคชัด ๆ แต่ก็มีความเชื่อว่าพญานาคมีลักษณะคล้ายงูใหญ่ มีหงอนสีทอง ตาสีแดง เกล็ดเหมือนปลา สีของพญานาคจะแตกต่างกันไปตามบารมี มีทั้งสีเขียว สีดำ พญานาค 7 สี ถ้าเป็นพญานาคตระกูลธรรมดาก็จะมีเศียรเดียว แต่ตระกูลที่สูงขึ้นไปก็จะมี 3 เศียรไปจนถึง 9 เศียร

ตำนานพญานาค

พญานาคเป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์ มีความเชื่อกันว่านาคมีอิทธิฤทธิ์ดลบันดาลให้เกิดฝนตกตามฤดูกาลหรือที่เรียกว่า ตำนานนาคให้น้ำ โดยจะมีพญานาคให้น้ำ 1-7 ตัว บางตำราก็ว่าระบุเป็นจำนวนนาคตามปีนักษัตร

เปิดตำนานความลี้ลับของพญานาค 4 ตระกูล

ตามตำนานพญานาคที่เล่าต่อ ๆ กันมา มีการบอกถึงรูปแบบของพญานาคที่แตกต่างกันไป นาคเป็นกึ่งสัตว์กึ่งเทพที่มีพละกำลังและอิทธิฤทธิ์มาก สามารถจำแลงกายได้ ถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ถลชะ นาคที่เกิดบนบก และ ชลชะ หน้าที่เกิดใต้น้ำ ประวัติพญานาคแต่ละองค์จึงแตกต่างกัน

ตำนานพญานาค

พญานาคตระกูลวิรูปักษ์

พญานาคตระกูลนี้มีผิวกายที่งดงามมาก เกล็ดเป็นสีทอง ถือเป็นนาคชั้นสูงสุด กำเนิดแบบโอปปาติกะ เกิดขึ้นเองแล้วโตเลย มีอิทธิฤทธิ์และบุญบารมีมาก จัดอยู่ในชั้นเทพ อาศัยอยู่ในทิพย์วิมาน และยังเป็นชนชั้นปกครองที่ปกครองนาคทั้งหมด ต้นตระกูลก็คือท้าววิรูปักษ์ 1 ใน 4 มหาราชที่ปกครองสวรรค์ชั้นจตุมหาราชิกา ด้านทิศตะวันตก เป็นพญานาคตระกูลที่ไม่เกรงกลัวอะไรเลย แม้แต่มนต์สะกดอาลัมพายน์ของพญาครุฑ

ตำนานพญานาค

พญานาคตระกูลเอราปถะ

พญานาคชั้นสูงที่มีผิวกายหรือเกล็ดเป็นสีเขียว ถือกำเนิดแบบโอปปาติกะ เกิดจากฟองไข่ ลำตัวมีขนาดใหญ่ใกล้เคียงกับพญานาคตระกูลวิรูปักษ์ อาศัยอยู่ในเมืองบาดาลที่ไม่ลึกมาก เป็นตระกูลที่พบได้มากที่สุด เพราะว่าใกล้ชิดกับมนุษย์มากที่สุด ชอบแปลงกายขึ้นมาเที่ยวบนโลกมนุษย์จนเกิดเป็นตำนานรักของพญานาคกับคน

พญานาคตระกูลนี้หากมีการบำเพ็ญเพียรบารมีจนแกร่งกล้า ก็จะสามารถแผ่เศียรได้ถึง 9 เศียรเลย สามารถขึ้นเป็นพญานาคชั้นปกครองได้ ตามที่เรารู้จักกันดี พญานาคในตระกูลนี้คือพญาศรีสุทโธนาคราช แห่งเวียงวังนาคินทร์คำชะโนด เป็นตำนานพญานาคที่อยู่คู่คนไทยมาอย่างยาวนาน

ตำนานพญานาค

พญานาคตระกูลฉัพพยาปุตตะ

พญานาคที่มีผิวกายหรือเกล็ดเป็นสีรุ้ง กำเนิดแบบชลาพุชะ คือการกำเนิดจากครรภ์ อาศัยอยู่ในนครบาดาลหรือป่าลึก ถือเป็นพญานาคที่มีความงดงามมาก เพราะเกล็ดหลายมีสีเหมือนสีรุ้ง มีอิทธิฤทธิ์มาก มักอาศัยอยู่ในที่ลึกลับ พบเจอได้ยาก

ตำนานพญานาค

พญานาคตระกูลกัณหาโคตมะ 

เป็นพญานาคตระกูลที่มีผิวกายเป็นสีดำนิลกาฬ ถือกำเนิดแบบสังเสทชะ คือการเกิดจากเหงื่อไคลและสิ่งหมักหมมต่าง ๆ ทำให้ร่างกายเป็นสีดำ มักมีร่างกายกำยำ บึกบึน แม้จะไม่ใช่นาคชั้นสูง แต่ก็มีอำนาจและอิทธิฤทธิ์ไม่แพ้ตระกูลอื่นเลย ชอบอาศัยอยู่ในน้ำลึกและที่เร้นลับ พบเจอได้ยาก ส่วนมากจะมีหน้าที่เฝ้าสมบัติของเมืองบาดาล

ถึงแม้ว่าจะเป็นตระกูลที่ต่ำกว่าตระกูลอื่น แต่หากหมั่นบำเพ็ญเพียรจนมากด้วยบารมี ก็สามารถเป็นนาคชั้นปกครองได้ เราจะรู้จักนาคตระกูลนี้กันดีจากองค์ดำแสนสิริจันทรานาคราช กษัตริย์นาคราช ยอดนักรบแห่งเมืองบาดาล

ตำนานพญานาค

ตำนานบั้งไฟพญานาค

ในทุก ๆ ปีจะมีประเพณีประจำภาคของชาวอีสาน ตามตำนานเล่าว่าในวันออกพรรษา หรือวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 11 ของทุกปี จะมีลูกไฟสีแดงพุ่งขึ้นมาจากลำน้ำโขง ความสูงประมาณ 50 – 150 เมตร และดับหายไปเองในอากาศโดยที่ไม่มีสะเก็ดไฟตกลงมาเลย ชาวบ้านเชื่อกันว่าพญานาคที่อาศัยอยู่ใต้บาดาลเป็นผู้ปล่อยลูกไฟนี้ขึ้นมา เพื่อเป็นพุทธบูชาแก่พระพุทธเจ้าที่เสด็จกลับจากสรวงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ จากเหตุการณ์นี้ ทำให้กลายเป็นเทศกาลชมบั้งไฟพญานาค สร้างความตื่นตาตื่นใจกับผู้พบเห็น และยังสร้างรายได้ให้กับชาวอีสานแถบลุ่มน้ำโขงอีกมากมายเลย

สาเหตุที่ต้องเป็นลุ่มน้ำโขง เพราะคนไทยมีความเชื่อว่า แม่น้ำโขงเป็นจุดที่เชื่อมต่อระหว่างเมืองมนุษย์กับเมืองบาดาล จะเห็นได้จากละคร ภาพยนตร์ต่าง ๆ ที่มาถ่ายทำบริเวณลุ่มน้ำโขง และสถานที่ต่าง ๆ ก็ทำรูปปั้นพญานาคไว้ริมน้ำโขงอีกหลายแห่งเลยด้วย

สำหรับใครที่มีความเชื่อในเรื่องของ ตำนานพญานาค ก็สามารถไปตามรอยพญานาคได้เลยค่ะ เพราะมีหลายสถานที่เลยที่มีรูปปั้นหรือหินที่เป็นรูปพญานาค ให้ผู้คนได้สักการบูชากัน ไปแล้วได้โชคลาภกลับมากันทุกคนเลยค่ะ